ที่ไหนมีสังคม ที่นั่นมีกฎหมาย (Ubi societas , ibi jus)

ที่ไหนมีสังคม ที่นั่นมีกฎหมาย (Ubi societas , ibi jus)

การสร้างความเป็นธรรมหรือความยุติธรรมให้แก่สังคม สิ่งที่น้อง ๆ ควรศึกษาไว้ก็คือ “กฎหมาย” เพราะกฎหมายเป็นหลักกติกาที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยวันนี้พี่ ๆ  BRIT - Ed จะพาย้อนกลับไปดูหนึ่งในจุดเปลี่ยนสำคัญของการศึกษากฎหมายของโลกที่ประเทศอังกฤษกัน ว่ามีเรื่องราวอย่างไร ไปดูกัน!

ที่ไหนมีสังคม ที่นั่นมีกฎหมาย (Ubi societas , ibi jus

คนเรานั้นมีความแตกต่างกันสังคมและความคิดการที่จะทำให้อยู่ร่วมกันได้ในสังคมอย่างปกติสุขก็ต้องมีสิ่งที่ควบคุมทุกคนไว้อย่างเท่าเทียมสิ่งนั้นก็คือ “กฎหมาย” นั่นเอง ซึ่งมีทฤษฎีแนวความคิดพัฒนามาตั้งแต่การศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ (Ethology) และ ความรู้ทางมานุษยวิทยา (Anthropology) จากนั้นก็วิวัฒนาการตามสภาพแวดล้อมของสังคมนั้นๆ

โดยพี่ ๆ  BRIT – Ed จะมาเล่าประวัติด้านกฎหมายของประเทศอังกฤษให้พอเข้าใจกันแบบคร่าวๆว่ากฎหมายจากประเทศอังกฤษถือเป็นส่วนสำคัญของการศึกษากฎหมายของโลกเลยทีเดียวและแนวคิดมีที่มาอย่างไรแล้วมีผลมาถึงประเทศไทยยังไงบ้างเรื่องราวจะมีอะไรบ้างไปดูกัน!

ประวัติศาสตร์กฎหมายอังกฤษ (Common law)

ระบบกฎหมาย Common law (คอมมอน ลอว์) นั้นมีต้นแบบมาจากประเทศอังกฤษซึ่งช่วงเวลาหนึ่งของอังกฤษ ชุมชนและท้องถิ่นได้พัฒนาธรรมเนียมและกฎเกณฑ์ของตนเองเพื่อแก้ไขข้อพิพาทและรักษาความสงบเรียบร้อยเพื่อปกครองกันเองในแต่ละเผ่าหรือชุมชนต่อมาในศตวรรษที่ 12 ระบบกฎหมายของอังกฤษเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นภายใต้รัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 พระองค์ทรงจัดตั้งระบบราชสำนักที่เดินทางไปทั่วประเทศ นำความเสมอภาคและความสอดคล้องมาสู่การใช้กฎหมาย ราชสำนักเหล่านี้พัฒนาร่างกฎหมาย common law (กฎหมายทั่วไป) ที่เริ่มใช้ทั่วอังกฤษ

ประเพณีเหล่านี้สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นและได้รับยอมรับกฎหมาย common law โดยทั่วกันทุกคน ซึ่งหลักcommon lawจะตั้งอยู่บนหลักการของตัวอย่าง ซึ่งหมายความว่าผู้พิพากษาจะพิจารณาคำตัดสินและพิจารณาจากสิ่งที่ผ่านมาเพื่อตัดสินคดีที่คล้ายกัน

จึงถูกเรียกในอีกชื่อที่รู้จักกันได้คือ “ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร” นั้นก็เพราะกฎหมายที่ใช้เป็นหลักของประเทศ  ไม่มีการบัญญัติข้อกฎหมายในลักษณะกำหนดวางหลักเกณฑ์ไว้ชัดเจนอย่างเช่นในระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร    แต่จะกำหนดหลักกฎหมายไว้ในคำพิพากษาของศาลสูงสุดที่ตัดสินคดีไว้เป็นคดีแรก  โดยนำจารีตประเพณีมาเป็นเหตุผลในการตัดสินคดี     ซึ่งจารีตประเพณีของแต่ละท้องถิ่นนั้นเหมือนกันบ้างไม่เหมือนกันบ้าง   ดังนั้นในการพิจารณาคดีจึงจำเป็นต้องเชิญประชาชนในท้องถิ่นนั้นที่เป็นคนดีและเป็นที่เคารพนับถือทั้งท้องถิ่นมาร่วมนั่งพิจารณาคดีในศาลด้วย   โดยพิจารณาเฉพาะข้อเท็จจริง  แล้วตัดสินว่าผู้นั้นกระทำความผิดตามที่กล่าวหาหรือไม่ ประชาชนที่ถูกเชิญมานี้เรียกว่า “คณะลูกขุน” (Jury) ถ้าคณะลูกขุนเห็นว่าผู้ต้องหากระทำผิดจริง ก็เป็นหน้าที่ของผู้พิพากษาที่จะพิจารณาในปัญหาข้อกฎหมายต่อไปแล้วพิพากษาคดี แต่หากคณะลูกขุนเห็นว่าไม่ผิดก็ต้องปล่อยตัวผู้ต้องหานั้นไป

ความสำคัญต่อกฎหมายระดับสากล

- เป็นระบบกฎหมายที่นอกจากสหราชอาณาจักรจะใช้ยังเป็นหลักการใช้กฎหมายทั่วไปที่ใช้ในการตัดสินคดีใน ออสเตรเลีย แคนาดา ฮ่องกง อินเดีย นิวซีแลนด์

- ด้วยความยืดหยุ่นลักษณะของการตัดสินด้วยหลัก common law ทำให้เกิดการถกเถียงและเรียนรู้ในแวดวงของกฎหมายเป็นความคิด หรือค่านิยมที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตยหรือไม่ ทำให้เป็นหนึ่งหัวข้อสำคัญที่คนที่เรียนกฎหมายจะต้องให้ความใส่ใจกันทั่วโลกเป็นลำดับต้นๆตั้งแต่เริ่มศึกษากฎหมาย

ความเชื่อมโยงกันกับกฎหมายไทย

แม้ประเทศอังกฤษจะใช้ระบบ common law ในการตัดสินคดีความต่าง ๆ ซึ่งต่างจากประเทศไทยที่ใช้ civil law (กฎหมายที่มีลายลักษณ์อักษร) แต่ยังมีข้อสังเกตุอีกหลายข้อว่าทั้งสองประเทศมีความคล้ายคลึงกันอยู่ในหลายจุด เช่น

ประเทศอังกฤษนั้นเป็นแม่แบบของระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาซึ่งไทยก็มีระบบปกครองแบบเดียวกันรวมถึงทั้งสองประเทศยังมีระบบการครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเหมือนกันอีกด้วยจึงเรียกได้ว่าประเทศไทยนั้นได้รับอิทธิพลเป็นอย่างมากทางด้านการปกครองทางการเมืองและการบริหารประเทศมาจากประเทศอังกฤษเลยก็ว่าได้นอกจากนี้ยังมีเรื่องของหลักนิติธรรม (The Rule Of Law) หรือหลักการปกครองโดยกฎหมายที่ทั้งสองประเทศนั้นแม้จะมีข้อแตกต่างกันบ้างในบางจุดแต่ก็ยังมีจุดร่วมกันสามารถยกตัวอย่างเป็นตารางได้ดังนี้

- หลักนิติธรรมโดยเคร่งครัด (ไทย) คือ หลักพื้นฐานแห่งกฎหมาย ที่กฎหมาย กระบวนการยุติธรรมหรือการกระทำใดๆ จะต้องไม่ฝ่าฝืน ขัด หรือแย้งต่อหลักนิติธรรม โดยหลักนี้จะถูกล่วงละเมิดมิได้ หากฝ่าฝืน ขัด หรือแย้งต่อหลักนิติธรรมนี้ ย่อมไม่มีผลใช้บังคับ

- หลักนิติธรรมที่ประเทศอังกฤษใช้โดยเรียกว่า หลักของราส (Raz’s Principles) ซึ่งคิดค้นโดย Joseph Raz) นักปราชญ์ด้านกฎหมายและการเมืองชาวอิสราเอลที่ได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับหลักนิติธรรมไว้ในหนังสือชื่อ “หลักนิติธรรมและคุณธรรมของนิติธรรม (The Rule of law and its virtue)

ที่มา : วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 พฤศจิกายน 2558

   

ที่มา : วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 พฤศจิกายน 2558

 

อ่านจบแล้ว! หากน้อง ๆ สนใจเรียนต่อในประเทศอังกฤษที่เป็นต้นกำเนิดหลักกฎหมายที่สำคัญของประวัติศาสตร์ พี่ BRIT – Ed มีข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา รายชื่อมหาวิทยาลัย และหลักสูตร LLM ที่ ก.ต.รับรองใน UK (ข้อมูลล่าสุด 2023 -  2024)

ดูหลักสูตร LLM คลิกที่นี่เลยค่ะ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือสมัครเรียน ติดต่อพี่ๆ BRIT-Ed ได้ที่ Line ID: @brit-ed Tel: 02-168-7890, หรือลงทะเบียนที่แบบฟอร์มด้านล่างบริการทั้งหมดไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นค่ะ

ลงทะเบียนร่วมงาน

  • ข้อมูลส่วนตัว

  • หลักสูตรที่สนใจศึกษาต่อ