IGCSE, A-Level, IB Diploma, AP ระบบเหล่านี้แตกต่างกันอย่างไร?
IGCSE, A-Level, IB Diploma, AP ระบบเหล่านี้แตกต่างกันอย่างไร?
ก่อนที่น้องๆ จะเข้ามหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็นในเมืองไทย อังกฤษ อเมริกาหรือทุกที่ทั่วโลก ต่างก็ใช้ step ที่ค่อนข้างคล้ายๆ กัน ประมาณ 3 ขั้น คือ จบไฮสคูล, มี English Proficiency เช่น TOEFL, IELTS และ Standardized Test เช่น ACT, CU-AAT, BMAT
หากน้องๆ มีไอเดียที่ชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยที่อยากจะเข้าไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยไหนก็ตาม Objective หรือ University Goal ของน้องๆ จะมีผลค่อนข้างมาก ที่ทำให้เรารู้ว่าต้องเตรียมตัวทั้ง 3 step เลยหรือไม่ และต้องเตรียมอะไรบ้าง
Step 1: น้องจบไฮสคูล diploma หลักๆ มีอยู่ 3 หลัก (ไม่รวมหลักสูตรไทย)
- หลักสูตรอังกฤษ IGCSE, A level เน้นให้น้องเรียนลึก รู้จริง มี freedom ในการเลือกได้ ซึ่งจะเรียนวิชาไม่เยอะมากในตอน A level ประมาณสามสี่วิชาเท่านั้น เลือกวิชาที่เราอยากจะ specialized จริงๆ แล้วไปต่อด้วยมหาวิทยาลัยซึ่งก็จะเน้น specialized ในปริญญาตรีไปเลย เช่นจะเรียนวิศวะเมเจอร์อะไรบ้าง
- อเมริกา เรียกว่าเป็น diploma ซึ่งถ้าเรียนต่อขึ้นมาอีกนิดก็จะเป็น AP ซึ่งก็จะเหมือนมหาวิทยาลัยแล้ว น้องคนไหนเรียนก็จะไปเก็บหน่วยกิจได้ในมหาวิทยาลัย อเมริกาจะมี concept ว่าน้องต้องเรียนเยอะๆ จำนวนเยอะ วิชาใน Highschool ก็จะประมาณเรียน 8 วิชา น้องก็จะต้องสอบเยอะ SAT, AP, ACT ซึ่งจะต้องสอบหลายตัวมาก วิชาก็เยอะ เรียนกว้าง
- หลักสูตร IB เป็นส่วนผสมระหว่างหลักสูตรอังกฤษกับอเมริกา จึงเรียนลึกและเรียนกว้างจะมีบางวิชาที่เรียนค่อนข้างลึกมาก เรียนกว้างคือต้องเรียนหลากหลายวิชา ซึ่งน้องๆ ไม่สามารถเลือกได้เองตามใจ
Step 2: ภาษาอังกฤษ น้องต้องสอบ IELTS, TOEFL, CU TEP, TU GET แน่นอนว่าสองอันหลังใช้ได้เฉพาะเมืองไทยและบางมหาวิทยาลัยเท่านั้น จึงแนะนำให้สอบ IELTS, TOEFL มากกว่าเพราะเป็น international และใช้ได้ทั่วโลก
Step 3: Standardized Test การสอบวัดมาตรฐาน หลักๆ จะมี SAT มี ACT บ้าง CU-AAT ของจุฬา ส่วน BMAT จะเป็นของหมอ ทันตะ เภสัช เพราะฉะนั้น SAT ค่อนข้างเป็นที่นิยมใน Standardized Test
สามขั้นนี้คือ full option ที่น้องๆ ต้องใช้ แต่จริงๆ จะต้องดูที่ University Goal ของเราจะทำให้รู้ว่าน้องจะใช้อะไร ยกตัวอย่าง จุฬาฯ จะรับทั้ง A level, IB หรือ GED ก็รับ ซึ่ง GED เป็นหลักสูตรนอกการศึกษา หรือ กศน. หลักสูตรจะค่อนข้างง่าย พื้นฐานจึงอาจจะไม่ค่อยดี แล้วน้องๆ ก็ต้องไปใช้ภาษาอังกฤษด้วย IELTS, TOEFL ต้องสอบ SAT ด้วย อย่างมหาวิทยาลัยเอกชนบางที่ก็จะใช้แค่วุฒิม. 6 เท่านั้น GED ก็เข้าได้เลย อันนี้คือความแตกต่าง
ส่วนมหาวิทยาลัยในอังกฤษ นอกจากจะใช้ Highschool Diploma เช่น ต้องเป็น A level, IB, AP ก็จะต้องใช้ภาษาอังกฤษ IELTS และ Standardized Test ด้วย ซึ่งจุดนี้แล้วแต่มหาวิทยาลัย บางมหาวิทยาลัยอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ สรุปคือถ้าน้องๆ มี University Goal อยู่ในใจแล้ว จะทำให้การวางแผนง่ายขึ้น แต่ก็อาจจะมีบางคนที่ยังไม่รู้ว่าอยากทำอะไรในอนาคต น้องๆ อาจจะเลือกทำแบบทดสอบ ซึ่งเดี๋ยวนี้จะมีพวก career test หรือ Psychological Test เพื่อให้น้องรู้จักตัวเองมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น
- Cambridge, Oxford มหาวิทยาลัยระดับท็อปของอังกฤษ จะรับ A level แต่ Cambridge จะกำหนดเลยว่าขั้นต่ำประมาณ A star, A star, A หมายความว่าสามวิชาต้องได้ตามนี้ Oxford เช่นเดียวกัน A star, A, A ไปจนถึง A star, A star, A ซึ่ง requirement ค่อนข้างสูงมาก
AP ก็รับเช่นกัน โดยต้องใช้ประมาณ 5 วิชา ที่เกรด 5 ซึ่งเป็นเกรดสูงสุดของ AP หรือถ้าเรียน IB มาก็รับเช่นกัน Cambridge ใช้ประมาณ 40-42 คะแนนเต็ม 45 ด้วยคะแนน higher level 776 IB
คะแนนเต็มคือ 7
- UCL เกณฑ์การรับ A level รับที่ AAB กับ IB ต้องยื่นด้วยคะแนนประมาณ 36 ค่อนข้างน้อยกว่า Oxford, Cambridge
- Birmingham เกณฑ์การรับ A level คือ ABB, IB เอา 32 ซึ่งจะเข้าง่ายขึ้น
จากตัวอย่าง แสดงให้เห็นว่าเป้าหมายของน้องไม่ว่าจะเรียน curriculum อะไรก็ตาม ทำให้รู้ว่าน้องควรจะทำคะแนนได้ประมาณเท่าไหร่ จะได้เตรียมตัวกันตั้งแต่วันนี้ คะแนนพวกนี้อาจจะไม่ใช่ร้อยเปอร์เซ็นต์ในการคัดเลือกเพราะอาจจะต้องพึ่งอย่างอื่นด้วย เช่น personal statement แต่ Academic profile จะเป็นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งของน้อง
หลักสูตรต่างๆ
หลักสูตร GED
เป็นเหมือนหลักสูตร กศน.ของอเมริกา มหาวิทยาลัยทั่วโลกมีรับอยู่บ้างแต่จำนวนน้อย ทั้งนี้ส่วนมากจะไม่ใช่มหาวิทยาลัยท็อปๆ เป็นมหาวิทยลัยกลางๆ ถึงเทียร์ล่างๆ GED จะสอบอยู่แค่สี่วิชาเท่านั้น สี่วิชาบังคับคือ ภาษาอังกฤษ(LA), Science, Social study ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียนเกี่ยวกับอเมริกา ประวัติศาสตร์อเมริกา การเมืองอเมริกา ประวัติศาสตร์ของโลก มีเศรษฐศาสตร์บ้าง สุดท้ายคือเลข ข้อสอบส่วนใหญ่ 95% เป็น choice มีประมาณ 5% เท่านั้นน้องต้องทำ essay ซึ่งจะไม่ค่อยยาก คะแนนเต็มแต่ละวิชาคือ 200 คะแนน น้องๆ จะต้องทำให้ได้ 145 ขึ้นไปในแต่ละวิชาจึงจะผ่าน โดยมหาวิทยาลัยจะมี requirement ที่ไม่เท่ากัน บางมหาวิทยาลัยในเมืองไทยก็จะใช้แค่ 145 บางมหาวิทยาลัยก็ต้องการสูงขึ้น เช่น คะแนนรวมสี่วิชาต้องไม่น้อยกว่า 660 เฉลี่ยออกมาต้องได้ 165 คะแนนต่อวิชา น้องจะจบได้ใช้เวลาประมาณครึ่งปีหรือประมาณหนึ่งปี ข้อเสียคือ profile ดูไม่ดี พื้นฐานไม่แข็งแรงเท่าอันอื่น เช่น AP, IB แต่แน่นอนว่าขึ้นอยู่กับ objective บางมหาวิทยาลัย GED ก็รับแล้ว เพราะฉะนั้นสำหรับน้องๆ บางคนก็จะเรียน GED ก็พอแล้ว และก็ไปเตรียมพื้นฐานอย่างอื่น
หลักสูตร IGCSE, A level
IGCSE ก็คือประมาณ ม.3-ม.4 ของบ้านเรา น้องที่เรียนก็อยู่ประมาณ year 10, 11 อายุประมาณ 14-16 ปี วิชาขั้นต่ำเรียนประมาณ 5 วิชา บางโรงเรียนก็อาจจะให้เราเรียนค่อนข้างเยอะประมาณ 5-11 วิชาอันนี้แล้วแต่โรงเรียน บางโรงเรียนที่มีชื่อเสียงหน่อยก็ให้เรียนถึง 8-11 วิชา ถ้าขั้นต่ำหรือน้องเป็น Home school ก็จะเรียน 5 วิชา เลือกอะไรก็ได้แล้วแต่ความชอบ แล้วแต่ประโยชน์ที่จะเอาไปใช้ในอนาคตตอนที่เราจะเข้ามหาวิทยาลัย
ข้อสอบ IGCSE ส่วนใหญ่จะเน้นเขียนเป็นหลัก มีช้อยส์บ้างแต่ค่อนข้างน้อย เปิดโอกาสให้น้องได้ใช้ความคิด Creativity การคิดวิเคราะห์ เพราะฉะนั้นเป็นหลักสูตรที่ค่อนข้างเสริมพื้นฐานของน้องได้ดีมาก เกรดก็จะไม่ใช่ตัวเลข เกรดจะเป็น A* ลงไปกระทั่งถึง E จริงๆ ต่ำกว่า E ก็มีคือไม่ผ่าน หากได้ C ขึ้นไปถือว่าผ่าน ถ้าได้ A* ถือว่าเก่งมากเพราะสูงสุด วิชาที่น้องจะเลือกได้เยอะมากหลายหลาย เช่นสาย Math ก็คือมี Math หลายตัว เช่น Math ปกติ, Additional Math เหมาะสำหรับพวกวิศวะ, International Math ก็จะเป็น application มีโจทย์ มีใช้การพลิกแพลงเป็นโจทย์ปัญหา เป็นต้น ทางด้าน Professional ที่น้องสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคต Business Study ก็จะเรียน BBA, Accounting น้องสามารถเลือกตามที่น้องเอาไปใช้ประโยชน์ และมีความสนใจได้
ส่วน A level ก็จะต้องผ่าน IGCSE มาก่อน วิชาส่วนใหญ่จะเป็นวิชาเดียวกับที่เรียน IGCSE มาก่อนเป็นหลัก น้องจะเลือกเรียนแค่ประมาณ 3-4 วิชาเท่านั้น เน้นเรียนให้รู้ลึก รู้จริง year 12 เรียก AS level, year 13 เรียก A2 ก็คือเรียน A level เต็มๆ เหมือนสอบครึ่งแรกกับครึ่งหลัง เวลาสอบเกรดก็ได้คล้ายๆ IGCSE ก็คือ A* ถึง E
หลักสูตร IB เป็นลูกครึ่ง อังกฤษ อเมริกัน เรียนลึก เรียนกว้าง เวลาน้องจะเรียน น้องจะถูกบังคับให้เลือก 6 วิชาจากในแต่ละกรุ้ปที่เห็นในวงกลม
1 วิชาต้องมาจากกรุ๊ปที่ 1, อีกหนึ่งวิชาต้องมาจากกรุ๊ปที่ 2, อีกหนึ่งมาจากกรุ๊ปที่ 3, อีกหนึ่งมาจากกรุ๊ปที่ 4,
อีกหนึ่งมาจาก 5 ส่วนวิชาที่ 6 น้องจะมีสิทธิเลือกจากกรุ๊ปที่ 6 ก็ได้ หรือมาจาก 1,2,3,4 ก็ได้ หรือเลือกได้จากทุกกรุ๊ป ยกเว้นกรุ๊ปที่ 5 นั่นเอง โดย 6 วิชาที่น้องๆ เลือกมาจะต้องถูกแตกเป็น 3 วิชา ที่ใส่ไว้ HL คือ Higher level เรียนยาก อีก 3 วิชา เป็น SL คือ Standard Level ยากปานกลาง นอกจากนั้นน้องจะต้องทำ 3 activities ข้างขวามือด้วย คือ TOK (Theory of knowledge) EE (Extended Essay)และ CAS คือบำเพ็ญประโยชน์ ช่วยเหลือสังคม นั่นคือน้องต้องผ่าน 9 อย่างด้วยกัน คือ 6 วิชาบวกด้วย 3 งาน
ส่วนการวัดคะแนน 6 วิชา คะแนนเต็มวิชาละ 7 เท่ากับ 42 จากหกวิชาเต็ม 42 น้องต้องไปทำ TOK EE และ CAS น้องจะได้เพิ่มมาอีก 3 คะแนน รวมกัน 42+3 รวมกันเป็น 45 คะแนนเต็ม ฉะนั้นใส่ข้างล่างคะแนนเต็มว่า 24-45 ย้อนกลับไปตัวอย่าง การเข้า Cambridge กับ Oxford ต้องได้ประมาณ 39-40 ซึ่งถือว่าสูงมากๆ เพราะเกณฑ์การผ่าน IB คือ 24 คะแนน เวลาเรียนใช้เวลาสองปี อันนี้คือ shortcut ไม่ได้ เพราะ IB น้องทำโฮมสคูลค่อนข้างยากเพราะจะไม่มีการสอบข้างนอก โดยจะต้องสอบกับโรงเรียนที่ certify ในการเป็น IB เท่านั้น ฉะนั้นก็จะมีความ sustainability ที่น้อยกว่าตัว A level ของอังกฤษ ความยากง่ายใกล้เคียงกัน แต่สิ่งที่แตกต่างจากหลักสูตรอังกฤษคือน้องเรียนเยอะกว่า เรียนกว้างกว่า Activities เยอะกว่า เพราะฉะนั้นเด็กที่เรียน IB จะเหนื่อยและมี Activity, Report ที่ค่อนข้างเยอะ มี Present งาน ต้องออกไปทำกิจกรรมข้างนอกอีกด้วย สไตล์ออกมาไม่เหมือนอังกฤษ IB ถูกดีไซน์มาเพื่อให้เราเรียนลึก และหลายหลาย
หลักสูตร AP มักจะอยู่ในหลักสูตรอเมริกัน น้องคนไหนที่พื้นฐานค่อนข้างดี จะสามารถเลือก AP ได้ จุดประสงค์คือน้องเรียนสามารถใช้เข้ามหาวิทยาลัยได้ สามารถใช้ในการเทียบหน่วยกิจในบางวิชาที่เข้ามหาวิทยาลัยได้ ซึ่งความยากเหมือนปี 1 ของมหาวิทยาลัย ปี 1 กึ่งๆ ปี 2 เพราะฉะนั้นน้องคนไหนที่มี potential โรงเรียนก็จะให้ลง AP ได้ ประมาณ 3-5 วิชา อย่าง Oxford, Cambridge เค้าใช้ประมาณ 5 เต็ม 5 และ 5 วิชาด้วย เพราะฉะนั้นเกณฑ์การรับจะสูงมาก
โปรดติดตาม Part 2 ได้เร็วๆ นี้ หากน้องๆ มีคำถามเพิ่มเติมสามารถลงทะเบียนด้านล่างค่ะ
You must be logged in to post a comment.